วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พันธะเคมี( เคมี)

พันธะเคมี

พันธะเคมี คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลด้วยกันเองเพื่อทำให้วาเลนต์อิเล็กตรอนมีค่าเท่ากับแปด เพื่อที่จะทำให้อะตอมนั้น ๆ มีความเสถียรและสามารถดำรงค์อยู่อย่างอิสระ พันธะเคมีสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น
การศึกษาเรื่องพันธะเคมีทำให้สามารถรู้จุดเดือดของสารได้

ตัวต้านทานไฟฟ้า(ฟิสิกส์)

ตัวต้านทานไฟฟ้า (Resistor)


           เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมามีค่าเฉพาะค่าค่าหนึ่งที่ใช้ในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้มากที่สุด
ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์มักเรียกสั้นๆ ว่า อาร์ “R” มีคุณสมบัติในการลดกระแสและแรงดันไฟฟ้า   โดยสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง และแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับสัญลักษณ์ของความต้านทาน (Symbol)




สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน



หน่วยของความต้านทาน (Resistance)
           ค่าความต้านทานของตัวต้านทาน ถูกกำหนดให้มีหน่วยเรียกเป็น โอห์ม (OHM) เขียนแทนด้วยเครื่องหมายอักษรกรีกโบราณ คือ (โอเมก้า หรือ โอห์ม) ซึ่งได้จากค่ามาตรฐาน โดยการเอาแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ต่อกับความต้านทาน 1 โอห์ม และทำให้มีกระแสไหลในวงจร 1 แอมแปร์ ประกอบด้วย หน่วยค่าความต้านทานต่าง ๆ ดังนี้
                            1000  (โอห์ม) เท่ากับ 1 K (กิโลโอห์ม)
                            1000 K (กิโลโอห์ม) เท่ากับ 1 M (เมกกะโอห์ม)
           ตัวต้านทาน บอกค่าความสามารถในการทนกำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt)

ชนิดของตัวต้านทาน (Type of Resistors)
           ตัวต้านทานที่ถูกนำมาใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะมีหลายรูปแบบหลายชนิดตามความเหมาะสมของการใช้งาน
โดยจะแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ๆ ดังนี้
           1. ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ (Fixed Resistors)
           2. ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ (Variable Resistors)
           3. ตัวต้านทานชนิดพิเศษ (Special Resistors)


1. ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ (Fixed Resistors)
          เป็นตัวต้านทานที่มีค่าถูกกำหนดแน่นอนเพียงค่าเดียวในแต่ละตัว โดยจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของวัสดุที่นำมาทำเป็นโครงสร้าง เช่นตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์ (Wire-Wound Resistors) เป็นตัวต้านทานชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเป็นลวดความต้านทาน ซึ่งทำมาจากโลหะผสมนิกเกิลโครเมียม โดยพันอยู่บน
ฉนวนเซรามิค ใช้ในวงจรที่มีกำลังงานสูง สามารถทนกำลังงานได้ตั้งแต่ 2 วัตต์ จนถึง 100 วัตต์ หรือมากกว่า และมีค่าความต้านทานตั้งแต่ 1 โอห์มจนถึงค่าเป็นกิโลโอห์มแต่จะไม่สูงมาก การบอกค่าความต้านทานจะเขียนเป็นค่าตัวเลขไว้ที่ตัวโครงสร้างภายนอก ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม หรืองานที่ต้องใช้ กำลังสูง เช่นในระบบจ่ายแรงดันไฟฟ้า หรือเครื่องขยายกำลังวัตต์สูงๆ


รูปแสดงลักษณะของตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์

    ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิล์ม (Carbon-Film) หรือ ฟิล์มโลหะ (Metal-Film Resistors)
        เป็นตัวต้านทานชนิดที่มีการนำมาใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานมากที่สุด โครงสร้างทำมาจากผงคาร์บอนหรือ
วัสดุแกรไฟต์ ที่มีความทน ทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิและแรงดันได้ดี มีค่าความต้านทาน   ตั้งแต่ 1 โอห์ม จนถึง 20 เมกกะโอห์ม ซึ่งค่าความต้านทานแต่ละค่าแตกต่างกันเนื่องจากความหนาแน่นของวัสดุที่ใช้ทำไม่เท่ากัน มีขนาดทนกำลังงาน
ตั้งแต่ 1/10, 1/8, 1/4, 1/2, 1 หรือ 2 วัตต์ มีค่าความผิดพลาด ± 5 %, ± 10 % หรือ ± 20 %
นิยมบอกค่าความต้านทานเป็นรหัสแถบสี



รูปตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิล์ม

2.  ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ (Variable Resistors)
         เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ โครงสร้างมีทั้งแบบที่ใช้ลวดพันหรือไวร์วาวด์
และใช้ผงคาร์บอนพันหรือฉาบบนฉนวน มีแกนต่อกับหน้าสัมผัสเพื่อการปรับเปลี่ยนค่าความต้านทาน ถูกนำไปใช้ในงานวงจรที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่า มีรูปแบบที่ใช้งานหลายลักษณะเพื่อให้เหมาะสม







รูปลักษณะโครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้


    โพแทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) เรียกสั้นๆ ว่า พอท (POT) หรือที่นิยมเรียกกันว่า วอลุ่ม (Volume) มีทั้งชนิดที่เป็นแกนหมุน (Rotary) และชนิดที่เป็นแกนเลื่อน (Slide) ทำจากคาร์บอน จะมีค่าความต้านทาน ตั้งแต่ 1 KW ถึง 5 MW อัตราการทนกำลังงานต่ำ
ได้ประมาณ 1/2 –2 วัตต์ ถ้าเป็นชนิดไวร์วาวด์ จะมีอัตราการทนกำลังงานได้สูงและมีการเปลี่ยนแปลงค่าได้ละเอียดกว่าชนิดผงคาร์บอน

ทริมพอท (Trim pot) หรือที่เรียกว่า วอลุ่มเกือกม้า เป็นวอลุ่มขนาดเล็กไม่มีแกนปรับส่วนมากจะถูกออกแบบให้ยึดติดแผ่นวงจร ภายในของเครื่องโดยมากจะเป็นชนิดผงคาร์บอน เขียนค่าความต้านทานไว้เป็นตัวเลข ถ้าต้องการปรับค่าจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วย
เช่น  ไขควงเล็ก



ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบทริมพอท



การเลือกใช้ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้

     วอลุ่มถูกนำไปใช้งานในการปรับแต่งหรือควบคุมต่าง ๆ เช่น ควบคุมความดังของเสียง (Volume Control) ควบคุมความเข้มของสี
(Color Control)วอลุ่มบอกค่าความต้านทานและชนิดเป็นตัวเลขและตัวอักษร ไว้ที่ตัวของวอลุ่ม แบบแกนหมุนสามารถหมุน
แกนโดยรอบ ได้ประมาณ 300 องศา แต่ละชนิดจะมีลักษณะ อัตราส่วนความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน

ชนิด เอ (A-type) เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบทวีคูณ (Log scale)
ชนิด บี (B-type) เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบสม่ำเสมอเชิงเส้น
ชนิด ซี (C-Type) เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบทวีคูณ หรือแบบ แอนติล็อก (Antilog)
ชนิด เอ็มเอ็น (MN-Type) เป็นวอลุ่มชนิดที่ถูกออกแบบมาใช้เป็นวอลุ่มสำหรับการปรับเสียงลำโพงซ้าย-ขวา (Balance) ในระบบสเตริโอ


ตัวต้านทานชนิดพิเศษ (SPECIAL RESISTORS)

         เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะพิเศษ จะกล่าวได้เฉพาะอุปกรณ์ที่มีโครงสร้างเป็นความต้านทานซึ่งสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงค่า
ความต้านทาน ได้ด้วยองค์ประกอบต่างๆ

แอลดีอาร์ (LDR = Light Dependent Resistors) หรือตัวต้านทานไวแสง
         เป็นอุปกรณ์ที่ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามความเข้มของแสงที่ได้รับ  เนื่องจากแอลดีอาร์ถูกสร้างขึ้นมาจากสารกึ่งตัวนำ
ที่มีความไวต่อแสงมาก เช่น แคดเมียมซัลไฟด์ สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ตั้งแต่ 100 โอห์ม ถึง 1 เมกกะโอห์ม ใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบทางแสงต่าง ๆ เช่น ตรวจวัดระดับความเข้มของแสงที่ใช้ในกล้องถ่ายรูป เป็นต้น

เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เป็นอุปกรณ์ความต้านทานชนิดที่สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานเมื่อได้รับความร้อน ถูกนำไปใช้งานในการตรวจสอบอุณหภูมิความร้อนมีการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานเป็น 2 ลักษณะ คือ

แบบพีทีซี (PTC = Positive Temperature Comitial) เป็นชนิดที่ปกติจะมีค่าความต้านทานต่ำ เมื่อได้รับความร้อนจะทำให้มีค่าความต้านทานสูงขึ้นตามลำดับอุณหภูมิ นำไปใช้ตรวจสอบระดับความร้อน หรือทำให้เกิดความร้อนขึ้นเพื่อควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับขดลวด  เช่น วงจรล้างสนามแม่เหล็กอัตโนมัติของเครื่องรับโทรทัศน์สี (Degaussing coil) เป็นต้น 

แบบเอ็นทีซี (NTC = Negative Temperature Comitial) เป็นชนิดที่ปกติจะมี

ความต้านทานสูงเมื่อได้รับความร้อน ค่าความต้านทานจะต่ำลง ใช้งานด้านการตรวจสอบความร้อนเพื่อควบคุมระดับการทำงาน เช่น ในวงจรขยายเสียงที่ดีใช้ตรวจจับความร้อนที่เกิดจากการทำงานแล้วป้อนกลับไปลดการทำงานของวงจรให้น้อยลง เพื่ออุปกรณ์หลักจะไม่เกิดความร้อนมากจนเกินไป

ตัวต้านทานฟิวส์ ตัวต้านทานแบบนี้จะมีค่าความต้านทานคงที่ เมื่อมีกระแสไหลผ่านมากเกินไป ตัวต้านทานชนิดนี้จะทำหน้าที่
จำกัดการไหลของกระแส หรือทำหน้าที่เป็นฟิวส์ตัดการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ให้ผ่านวงจร

ประโยคความรวม (ภาษาไทย)

ประโยคความรวม



 
ประโยคความรวม  (อเนกัตถประโยค)  คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียวที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น   

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
ฉันอ่านหนังสือแต่
น้องเล่นตุ๊กตา
ฉันอ่านหนังสือ
น้องเล่นตุ๊กตา
แต่
            ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้

               ๒.๑  ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว  แล้ว...ก็  ครั้ง...จึง  
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ  คือ
                       ๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที
ฉันทำการบ้านเสร็จ
ฉันไปดูโทรทัศน์
พอ...ก็
                       ๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน
สุมาลีเรียนยุวกาชาด
จินดาเรียนยุวกาชาด
และ
               ๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน  คือ  ประโยคความเดียว ๒ ประโยคที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกันส่วนใหญ่จะมีสันธาน  แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็  ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย
ฉันรักเขามาก
เขากลับไม่รักฉันเลย
แต่ทว่า
            ๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มีกริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ  หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็  ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ
แก้วไปช่วยแม่ยกของ
ก้อยไปช่วยแม่ยกของ
หรือไม่ก็
           ๒.๔ ประโยคที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย
เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)
ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)
เพราะ...จึง
ข้อสังเกต        ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น  ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
                      ประโยคผลเสมอ



วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

อังกฤษ

หลักการใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ

(VERB)
โดย  อาจารย์นิวาต   สมฟอง

          ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับนักศึกษาก่อน  เรื่องการใช้คำกิริยาในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ  ซึ่งในปัจจุบันนี้นักศึกษาจะเห็นว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสาร  ระหว่างกัน ยิ่งในยุคที่เรียกว่า ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน หรือ Globalization คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า  ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก  ซึ่งอาจารย์ผู้เขียนเอง ได้กล่าวอยู่บ่อยครั้งว่า คนยุคใหม่ถ้าไม่รู้เรื่องภาษาอังกฤษเลย ก็ดูเหมือนว่าจะล้าสมัยเสียเหลือเกิน เพราะฉะนั้นหากนักศึกษามีความต้องการที่เข้าใย ( ต้องขอใช้คำว่า เข้าใจ ) นะครับ เพราะถ้าใช้คำว่า เก่ง ก็คงต้องใช้เวลาศึกษาหลายปีทีเดียว ดูเหมือนว่ามันเป็นอะไรที่ห่างไกลเหลือเกิน .
          นักศึกษาต้องถามตัวเองก่อนว่า เราเองมีความชอบหรือมีทัศนคติอย่างไรกับการเรียนภาษาอังกฤษ ?  ทำไม ต้องถามอย่างนั้น  ก็เพราะว่า อย่างน้อยเราจะได้รู้ถึงขีดความสามารถของตัวเอง หรือขอบเขตความต้องการของเราก่อน
          แต่รู้หรือไม่ครับ  มันเป็นเรื่องแปลกแต่จริง  ที่สถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศเขาบังคับให้นักศึกษาได้เรียนกัน
          หากเราทำความเข้าใจและมีใจชอบหรือมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว   ภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องที่ง่ายมาก   เพราะไม่มีอะไรที่ยากเกินความสามารถของผู้ต้องการใช้มันเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง
          การเรียนภาษาอังกฤษ  หากจะเปรียบกับการฝึกจักรยานมันก็เป็นสิ่งที่ยากตอนเริ่มฝึกใหม่ เท่านั้นเอง   อาจจะมีล้มลุกคลุกคลานบ้าง  ก็เป็นเรื่องธรรมดา  แต่ หากฝึกได้  บังคับทิศทางได้มันก็ไม่ยากอะไรเลย
          ในการศึกษาภาษาอังกฤษนั้น ในปัจจุบันยิ่งสะดวกสบาย  เนื่องจากว่ามีคู่มือมากมายหลายสำนักได้เขียนออกมา  ซึ่งเราสามารถนำมาประกอบการเรียนได้อย่างดีเลยที่เดียว
          อยากเก่งและเข้าใจภาษาอังกฤษเหมือนคนอื่นเขาหรือเปล่า ?
          ทีนี้อาจารย์ผู้เขียนจะได้แนะเคล็ดที่ไม่ลับให้กับเหล่านักศึกษา เมื่อเรียนกับอาจารย์แล้วรับรองว่าจะเข้าใจภาษาอังกฤษและรักมันมากยิ่งขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว  ลองติดตามกันดู
          หลักการง่าย ที่เราจะเข้าใจภาษาอังกฤษก็มีเพียงแค่ไม่กี่อย่าง  ไม่อยากบอกว่ามี 3 อย่างคือ  ประธาน + กิริยา + กรรม ( subject + verb + object )  เช่น 
The  students   go  to  school  by  the  bus.
มีหลายคนที่ไม่เข้าใจเลย  เนื่องจากไม่มีหลักในการจับ  เมื่อเห็นข้อความเป็นภาษาอังกฤษก็งง เป็นไก่ตาแตกเลย.
          จากตัวอย่างข้างต้นที่ได้ยกมานั้น  เราจะรู้ว่าประโยคนี้เขากล่าวถึงอะไรและหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไหน   เป็นอดีต  ปัจจุบัน หรือว่าอนาคต    ซึ่งในที่นี้เราจะใช้หลักการสังเกตจากคำกิริยานั่นเอง   จากประโยคที่ว่า   The  students  go  to  school  by  bus.  กิริยาในประโยคคือ  go  เป็นตัวบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะว่า กิริยาเป็นรูปปัจจุบัน

          ทีนี้เรามาทราบรายละเอียดกันเลยครับ

คำกิริยา
( VERB )
          Verb คือ  คำที่แสดงถึงอาการต่าง  หรือเหตุการณ์ต่าง ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของเวลา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  คำพูดที่แสดงถึงการกระทำของตัวประธานในประโยค หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยคำกิริยาด้วยกันนั่นเอง  กิริยาเป็นคำที่มีบทบาทที่สำคัญในแต่ละประโยค  ถ้าในประโยคนั้น ขาดคำกิริยา  ความหมายก็ไม่เกิดและไม่สามารถทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆได้เลย หรือมีใจความที่ไม่สมบูรณ์
          คำกิริยาตามหน้าที่แบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ
1.  สกรรมกิริยา ( Transitive  Verb ) คือ คำกิริยาที่ต้องมีตัวกรรม หรือคำอื่นเข้ามารองรับความหมายจึงจะสมบูรณ์ เช่น The  boys  kick  football  in  the  field. หมายความว่า 
พวกเด็ก เตะฟุตบอลอยู่ที่สนามหญ้า  คำว่า kick   เป็นคำกิริยา บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ว่าในขณะนี้หรือปัจจุบันนี้เด็ก กำลังเล่นกันอยู่ ส่วนคำว่า football เป็นตัวกรรมหรือตัวที่ทำหน้าที่รองรับกิริยาให้มีความหมายสมบูรณ์ขึ้น เพราะถ้าใช้คำว่า kick คำเดียวความหมายไม่สมบูรณ์ ไม่รู้ว่าเตะอะไร นั่นเอง
          2. อกรรมกิริยา ( Intransitive  Verb )  คือ คำกิริยาที่ไม่ต้องมีตัวกรรมหรือคำอื่นมารองรับก็ได้ความหมายสมบูรณ์เช่น  The  dogs  run  in  the  field.  ประโยคนี้ไม่ต้องมีตัวกรรมมารองรับ ก็ได้ใจความสมบูรณ์ดี  ซึ่งคำว่า  run แปลว่า วิ่ง คงไม่ต้องถามว่าใช้อะไรวิ่งนะครับ
          3.  กิริยาช่วย (  Helping  Verb หรือ  Auxiliary  Verb ) คือ กิริยาที่มีหน้าที่ช่วยให้กิริยาด้วยกันมีความหมายดีขึ้น และยังมีหน้าที่ทำให้ตัวของมันเองมีความหมายที่สมบูรณ์ขึ้นได้ดีอีกด้วย  เช่น  She  studies  in  Lamp Tech  college .  Does  she  study  in  Lamp Tech College ?



วิธีใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ
( HOW  TO USE  VERB  )
          คำกิริยาในภาษาอังกฤษตามหลักไวยากรณ์แบ่งออกเป็น 3 ช่อง เรียกว่า กิริยา 3 ช่อง ซึ่งแต่ละช่องก็บอกถึงเหตุการณ์ในแต่ละช่วงของเวลาได้อีกด้วย  ตามตัวอย่างในตาราง ต่อไปนี้


ช่องที่ 1
ช่องที่ 2
ช่องที่ 3
run
ran
run
see
saw
seen


กิริยาช่องที่ 1 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
กิริยาช่องที่ 2 ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
กิริยาช่องที่ 3 ใช้กล่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปอย่างสมบูรณ์ทั้งในปัจจุบันและอดีต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ส่วนสมบูรณ์ของกิริยา หรือ Complement  
          ***  ตามความเห็นของอาจารย์ผู้เขียนนะครับ  เปรียบคำกิริยาเหมือนกับผู้กำกับหนังหรือละคร  ตัวประธาน ก็เหมือนพระเอกหรือนางเอก ส่วนตัวกรรมก็เหมือนกับบทบาท ของนักแสดงทั้งหมด ที่ผู้กำกับต้องคอยป้อน ว่าจะให้สมบทบาทแค่ไหน หรือแสดงออกมาสมจริงอย่างไร.

คำกิริยามีวิธีใช้อยู่ 2 วิธี คือ

1.    ใช้เป็นกิริยาแท้ของประโยคที่มีตัวประธานเป็นบุรุษสรรพนาม
( ยกเว้นสรรพนามบุรุษที่ 3 )และตัวประธานที่เป็นพหุพจน์ เช่น
                   I
                   We               want  a  book.

                   You

                   they
          The  boys  want   some  books.
2.  ใช้เป็นคำแสดข้อความที่มี  to  นำหน้ากิริยา เช่น   to work , to  go ,  to run , to buy เป็นต้น
          ทั้งหมดทั้งสิ้นที่กล่าวมานั้นก็เป็นส่วนของคำกิริยา ซึ่งนักศึกษาสามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับนักศึกษา.
          กล่าวโดยสรุปแล้ว คำกิริยาที่ได้ยกมาพูดตั้งแต่ต้น สามารถสรุปได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
1.    กิริยาแท้  ( Finite  Verb )
2.    กริยาช่วย  (Auxiliary  Verb )
ในส่วนของกิริยาช่วยนั้นอาจารย์ผู้เขียนเอง ขอกล่าวเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ซึ่งได้ผ่านหูผ่านตานักศึกษามาบ้างแล้ว  นั่นก็คือ
1.    Verb  to  be  ( is , am , are , was , were  )  แปลว่า เป็น,  อยู่ , คือ
2.    Verb  to  have ( has , have , had ) แปลว่า  มี
3.    Verb  to  do ( do , dose, did ) แปลว่า ทำ
โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นว่า คำกิริยา ก็จะเป็นตัวแปร หรือตัวช่วยที่สำคัญ ที่ช่วยให้เราได้รู้
ถึงคำอื่น ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประโยค ที่เรียกว่า เหตุการณ์
          ก่อนที่จะยุติเรื่องการใช้คำกิริยาในภาษาอังกฤษ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อประกอบการทำความเข้าใจ  ขอเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือในชีวิตประจำวัน
          Manit  is  a  student  of  this  college. Every  day  he  gets up at  06.00 oclock and  then  he hurry takes a  shower, cleans his  shoes and  gets  dressed. His  house is near  the  college  about  4 kilometers , some  times when  it is  raining  he  is going  to  take  a motorcycle  with  his  friend.
          คำที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรสำดำนั้น  ล้วนแต่เป็นคำกิริยาทั้งสิ้น ซึ่งบ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน และยังบอกให้เราทราบว่าเป็นเหตุการณ์ในปัจจุบันอีกด้วย  ทั้งนี้สังเกตที่คำกิริยานั่นเอง
          หากนักศึกษาอยากเข้าใจให้มากขึ้นกว่านี้  นักศึกษาต้องพยายามอ่าน  พูด และเขียนให้เยอะ จะได้มีทักษะมากขึ้น และในที่สุดการใช้ภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งที่ง่าย
          และก่อนจาก ขอฝากข้อคิดไว้ว่า ไม่มีคำว่าแพ้  ในหมู่นักสู้
ความล้มเหลวของนักสู้  มิใช่อยู่ที่เคยพ่ายแพ้มาก่อน  แต่ อยู่ที่ไม่ยอมเริ่มต้นต่างหาก