วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประโยคความรวม (ภาษาไทย)

ประโยคความรวม



 
ประโยคความรวม  (อเนกัตถประโยค)  คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมแต่ก็สามารถแยกออกเป็นประโยคความเดียวที่มีใจความสมบูรณ์ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค เช่น   

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
ฉันอ่านหนังสือแต่
น้องเล่นตุ๊กตา
ฉันอ่านหนังสือ
น้องเล่นตุ๊กตา
แต่
            ประโยคความรวมแบ่งย่อยได้เป็น ๔ แบบ ดังนี้

               ๒.๑  ประโยคที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน คือ ประโยคความเดียว ๒ ประโยค
ที่นำมารวมกันโดยมีเนื้อความสอดคล้องกันมีสันธาน และ แล้ว  แล้ว...ก็  ครั้ง...จึง  
พอ...ก็ ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ  คือ
                       ๒.๑.๑ ประธานหนึ่งคนทำกริยา ๒ กริยาต่อเนื่องกัน เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
พอฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์ทันที
ฉันทำการบ้านเสร็จ
ฉันไปดูโทรทัศน์
พอ...ก็
                       ๒.๑.๒ ประธานสองคนทำกริยาอย่างเดียวกัน เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
สุมาลีและจินดาเรียน
ยุวกาชาดเหมือนกัน
สุมาลีเรียนยุวกาชาด
จินดาเรียนยุวกาชาด
และ
               ๒.๒ ประโยคที่มีเนื้อความขัดแข้งกัน  คือ  ประโยคความเดียว ๒ ประโยคที่นำมารวมกัน โดยมีเนื้อความขัดแย้งกัน กริยาในแต่ละประโยคตรงกันข้ามกันส่วนใหญ่จะมีสันธาน  แต่ แต่ทว่า กว่า...ก็  ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
ฉันรักเขามากแต่ทว่า
เขากลับไม่รักฉันเลย
ฉันรักเขามาก
เขากลับไม่รักฉันเลย
แต่ทว่า
            ๒.๓ ประโยคที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ประโยคที่มีกริยา ๒ กริยาที่ต่างกัน มีสันธาน หรือ  หรือไม่ก็ มิฉะนั้น...ก็  ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
แก้วหรือไม่ก็ก้อยไปช่วยแม่ยกของหน่อยจ้ะ
แก้วไปช่วยแม่ยกของ
ก้อยไปช่วยแม่ยกของ
หรือไม่ก็
           ๒.๔ ประโยคที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล คือ ประโยคที่มีประโยคความ
เดียวประโยคหนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคเหตุและมีประโยคความเดียวอีกประโยค
หนึ่งมีเนื้อความเป็นประโยคผล มีสันธาน จึง ฉะนั้น ดังนั้น เพราะฉะนั้น ฯลฯ เป็นตัวเชื่อม  เช่น

ประโยคความรวม
ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว
สันธาน
เพราะเธอเป็นคนเห็น
แก่ตัวจึงไม่มีใครคบค้า
สมาคมด้วย
เธอเป็นคนเห็นแก่ตัว
(ประโยคเหตุ)
ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย
(ประโยคผล)
เพราะ...จึง
ข้อสังเกต        ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลนั้น  ประโยคเหตุจะต้องมาก่อน
                      ประโยคผลเสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น