วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สุขศึกษา

ระบบประสาท

  ในสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือมีปฏิกิริยาต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ระบบที่ทำหน้าที่เหล่านี้ก็คือระบบประสาท ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่หลายส่วน เช่นในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) จะมีหลายๆ path way มารวมกันกลายเป็น Functional unit แต่ละ Functional unit อาจจะมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึง หรือแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นกับว่า แต่ละ unit นั้นทำหน้าที่อะไร

 
ระบบประสาท (Nervous system)

        ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
         1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
         2. ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วยรับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฎิบัติงาน
         ระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) หรือ ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
         ระบบประสาทอัตโนมัติ (Involuntary nervous system หรือ Autononic nervous system) หรือ ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยระบบซิมพาเทติก (sympathetic system) และระบบพาราซิมพาเทติก (parasympathetic system)
ภาพ:ศูยน์ควบคุมระบบประสาท.JPG
ศูนย์ควบคุมระบบประสาท
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
         1. สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo)และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus)ทาลามัส (thalamus)
         2. สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยเซรีบรัมพีดังเคิล (cerebralpeduncle) และคอร์พอราควอไดร์เจอมินาร์ (corpora quadrigermina) ซึ่งแบ่งออกเป็น คอลิคูไลด์ (superior colliculi) 2 พู ( lob) และอินฟีเรียคอลิคูไลด์ (inferior colliculi) 2 พู
         3. สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) เซรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
ภาพ:สมอง.JPG
         สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
  1. Gray matter เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและ axon ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
  2. White matter เป็นที่อยู่ของ axon ที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
         เยื่อหุ้มสมอง (Menirges) 3 ชั้น คือ
  1. ชั้นนอก (Pura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
  2. ชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
  3. ชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่าง
ชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจำทำหน้าที่ให้สมองแลไขสันหลังเปียกชื้ออยู่เสมอ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
  1. White matter เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
  2. Gray matter เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง

[แก้ไข] โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง

  1. ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
  2. ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
  3. ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนวัติ Note
เซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
  1. ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma)มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดีย
  2. ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิดคือ
ภาพ:ระบบประสาท.JPG
คำจำกัดความ ( Definition ) เกี่ยวกับระบบประสาท
         neuron ( nerve cell ) หมายถึง เซลล์ประสาท ซึ่ง ประกอบด้วย cell body และแขนง คือ dendrite และ axon
         axon หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณ หรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) ออกจาก cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
         dendrite หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) เข้าสู่ cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
         afferent หมายถึง การนำเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น afferent nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้า ที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท จากอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
         efferent หมายถึง การนำออกจากระบบประสาทส่วนกลาง เช่น efferent nerve fiber หมายถึงเส้นใยประสาท ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทส่วนกลาง ออกไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ
         bundle หมายถึง ใยประสาท ( nerve fibers ) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันเป็นกลุ่มของเส้นใยประสาท ของระบบ ประสาทส่วนกลาง
         column หมายถึง ส่วนของระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นแท่งหรือเป็นลำ
         nerve หมายถึง เส้นประสาทที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น vagus nerve เส้นประสาทนี้เกิดจากกลุ่มของเส้นใยประสาทมารวมตัวกันเป็นมัดหรือแท่ง
         ganglia หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง
         nucleus หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่ภายในระบบประสาทส่วนกลาง
         commissure หมายถึง ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างแบบเดียวกันซีกซ้ายและซีกขวา
         peduncle หมายถึง ส่วนที่มีลักษณะเป็นก้านหรือขั้ว ทำหน้าที่เชื่อมส่วนต่างๆของสมอง
         motor nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทที่ทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทจากระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อไปกระตุ้น effector หรือ target organ
         sensory nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณสัญญาณหรือกระแสประสาท จาก receptors เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
         tract หมายถึง กลุ่มของเส้นใยประสาทในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีเซลล์ประสาทต้นกำเนิด,ทางเดิน,ที่สิ้นสุด และทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น