สปีชีส์
สปีชีส์ (อังกฤษ: Species) หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เราเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ดังเช่น สปีชีส์ "พัฟฟิน" (Puffin) หมายถึง นกกลุ่มหนึ่งที่พบทั่วไปในแถบแอตแลนติกเหนือ พัฟฟินผสมพันธุ์ในโพรงบนพื้นดิน และมีจะงอยปากหลายสี ตีนสีส้ม และมีท่าเดินน่าขบขัน คำอธิบายเช่นนี้มีประโยชน์ แต่นักวิวัฒนาการแยกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสปีชีส์ได้ด้วยวิธีที่ง่ายกว่านี้มาก กล่าวคือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน จะต้องผสมพันธุ์กันได้และมีลูกด้วยกันได้ พัฟฟินจะผสมกับพัฟฟินด้วยกันเอง มิใช่กับนกชนิดอื่น เช่น เรเซอร์บิลล์ (razorbill) หรือกิลลิมอต (guillemot) ดังนั้นนกเหล่านี้จึงเป็นนกต่างสปีชีส์ไปจากพัฟฟิน
การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
การแบ่งเซลล์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
1.การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis)
2.การแบ่งไซโทพลาสซึม (cytokinesis)
การแบ่งนิวเคลียส แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis)
2.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย ในการเจริญเติบโต ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หรือในการแบ่งเซลล์ เพื่อการสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และหลายเซลล์บางชนิด เช่น พืช
ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม (2n ไป 2n หรือ n ไป n )
เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน และเท่ากับเซลล์ตั้งต้น
พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด, ปลายราก, แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว, ไขกระดูกในสัตว์, การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช
มี 5 ระยะ คือ อินเตอร์เฟส (interphase), โพรเฟส (prophase), เมทาเฟส (metaphase), แอนาเฟส (anaphase) และเทโลเฟส (telophase)
สิ่งมีชีวิตต้องมีการแบ่งเซลล์ เพื่อ
1.เพิ่มจำนวนเซลล์ เมื่อมีการเจริญเติบโต
2.ทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป
3.เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
เนื้อหา |
มีกี่สปีชีส์
ไม่มีใครรู้ว่าโลกเรามีสิ่งมีชีวิตอยู่กี่สปีชีส์ จนถึงขณะนี้มีผู้พบแล้ว 1.4 ล้านสปีชีส์ 750,000 สปีชีส์เป็นแมลง 250,000 เป็นพืชและ 41,000 เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่อาจมีมากกว่านี้มาก ซึ่งน่าจะเป็นแมลงที่ซ่อนตัวอยู่ตามป่าชื้น นักชีววิทยาคนหนึ่งพบว่ามีแมลงถึง 3,000 ชนิดบนต้นไม้ในเขตร้อนเพียงต้นเดียว และคำนวณไว้ว่าน่าจะมีแมลงถึง 30 ล้านสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เวลาผ่านไปรวดเร็วมาก หลายสปีชีส์สูญพันธุ์ก่อนที่จะได้รับการบันทึกไว้ด้วยซ้ำไปการเกิดสปีชีส์ใหม่
กว่า 3.5 ล้านล้านปีของสิ่งมีชีวิตบนโลก มีสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆ นับจำนวนไม่ถ้วนที่วิวัฒนาการมาอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ แม้ว่าหลายสปีชีส์จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน และหลายสปีชีส์อาจมองดูคล้ายคลึงกัน แต่ละสปีชีส์ก็แตกต่างจากสปีชีส์อื่นๆ ที่เคยมีชีวิตอยู่ ทุกสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะตัว นับจากไดโนเสาร์ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ (Tyrannosauras rex) จนถึงผึ้ง ลักษณะที่เราเห็นในสปีชีส์กลุ่มใหม่ๆ เป็นผลจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงบางประการที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม สภาพการณ์ดังกล่าวไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้อีก ดังนั้น เมื่อสปีชีส์ใดสูญพันธุ์หรือปรับตัวเองจนเปลี่ยนเป็นสปีชีส์ใหม่แล้ว จะสูญหายไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน แสดงให้เห็นว่าสปีชีส์เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร และความเข้าใจในวิวัฒนาการอย่างลึกซึ้งของเขาช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมจึงมีสิ่งมีชีวิตมากมายหลายประเภทในโลกการทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ด้วยการขัดขวางมิให้เกิดการสืบพันธุ์
การเกิดสปีชีส์ (speciation) เป็นวิธีการสำคัญที่ทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ โดยการแยกกลุ่มเก่าออกจากกัน หมู่เกาะกาลาปากอส มีนกกระจอก (finch) หลายสปีชีส์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเมื่อ 2-3 ล้านปีที่แล้วมา นกกระจอกกลุ่มหนึ่งจากอเมริกาใต้ถูกลมพัดมาติดที่เกาะหนึ่งและตั้งรกรากอยู่ที่นั่น ต่อมานกเหล่านี้กลุ่มเล็กๆ บินไปอยู่อีกเกาะหนึ่ง ปัจจุบันนกสองกลุ่มนี้แยกกันอยู่คนละเกาะและผสมพันธุ์กันไม่ได้ เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมบนเกาะที่อยู่นานเป็นพันปี นกสองกลุ่มนี้จะมีพันธุกรรมแปลกแยกจากกันมากขึ้นทุกปี จนกลายเป็นพันธุกรรมเฉพาะกลุ่มของตน เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้งจนมีนกกระจอกสปีชีส์ใหม่เกิดขึ้นหลายสปีชีส์วิวัฒนาการแบบปรับตัวเข้าหากัน
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆ แต่ละสปีชีส์จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ผลจากการปรับตัวนี้ทำให้สปีชีส์ที่มิได้เกี่ยวข้องกัน แต่ตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเหมือนกันจนปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันจนดูคล้ายคลึงกัน เช่น หมาป่าแทสเมเนียที่มองดูเหมือสุนัข แต่แท้จริงแล้วเป็นพวกมาร์ซูเปียล (marsupial) ที่ดำเนินชีวิตเหมือนสัตว์กินสัตว์ เช่น สุนัขและหมาป่าการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
การแบ่งเซลล์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
1.การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis)
2.การแบ่งไซโทพลาสซึม (cytokinesis)
การแบ่งนิวเคลียส แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis)
2.การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย ในการเจริญเติบโต ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หรือในการแบ่งเซลล์ เพื่อการสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และหลายเซลล์บางชนิด เช่น พืช
ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม (2n ไป 2n หรือ n ไป n )
เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน และเท่ากับเซลล์ตั้งต้น
พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด, ปลายราก, แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว, ไขกระดูกในสัตว์, การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช
มี 5 ระยะ คือ อินเตอร์เฟส (interphase), โพรเฟส (prophase), เมทาเฟส (metaphase), แอนาเฟส (anaphase) และเทโลเฟส (telophase)
สิ่งมีชีวิตต้องมีการแบ่งเซลล์ เพื่อ
1.เพิ่มจำนวนเซลล์ เมื่อมีการเจริญเติบโต
2.ทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป
3.เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น